top of page

รุ้งเกิดได้อย่างไร | How Does A Rainbow Form?

          หลายๆ คนคงเคยได้เห็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "รุ้ง" มาก่อนแล้วแน่นอน รุ้งเกิดขึ้นได้หลายแบบ ทั้งแบบกลับหัว วงกลม หรือแม้กระทั่ง รุ้ง 2 ชั้น วันนี้เราจะมาไขความลับกันว่ารุ้งกินน้ำเกิดขึ้นได้อย่างไร?

หลักการง่ายๆ เกี่ยวรุ้งเกิดจาก 2 อย่างด้วยกัน

คือ

หยดน้ำ

ดวงอาทิตย์

ปฐมภูมิ

ทุติยภูมิ

หลักการ

           น้ำทำตัวเหมือนปริซึมซึ่งมีคุณสมบัติในการหักเหแสง ทำให้แสงที่เข้าไปเกิดการแยกออกจากกันในมุมต่างๆ (เพราะแสงแต่ละชนิดมีความสามารถในการหักเหที่ต่างกันไป) และออกมาเป็นสีรุ้งที่เราเห็นได้ทุกวันนี้ ส่วนที่รุ้งเกิดการสลับสีกันในบางครั้งนั้นเป็นเพราะว่าทิศทางของแสงที่เข้ามาและตำแหน่งผู้สังเกตด้วย

รุ้งทั่วไป

ทำไมเราไม่เห็นรุ้งกินน้ำเป็นแบบ "กระจุกรุ้ง" ?

ในเมื่อหยดน้ำแต่ละหยดมีความสามารถในทำให้เกิดรุ้งได้ และในอากาศก็มีหยดน้ำอยู่มากมาย แบบนี้

ในความเป็นจริง

แสงเดินทางเป็นเส้นตรง

และมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่บังเอิญเดินทางตรงมาที่ตาเราพอดี

มองไม่เห็น

มองไม่เห็น

เราเลยเห็นเป็นแบบนี้

CR: เกรียงกมล สว่างศรี

@

การจัดเรียงเลยเป็นแบบนี้

ทำไมเราเห็นรุ้งเป็นแบบโค้ง ?

@

     รุ้งจะเกิดที่มุม 42 องศาจากจุด Anti-solar แล้วสามารถเกิดเป็นวงกลมได้ แต่ที่เราเห็นเพียงบางส่วนนั้นเป็นเพราะว่ามีส่วนโค้งของโลก หรือสิ่งกีดขวางบังอยู่

42 ํ

42 ํ

จุด Anti-Solar

จุด Anti-Solar

ดังนั้น การที่เราจะเห็นรุ้งเต็มวง เราต้องอยู่ในที่สูง เช่น บนภูเขา หรือเครื่องบิน

รุ้ง 2 ชั้น

ที่มาภาพ: Amusing Planet

ทำไมบางครั้งก็เห็นเป็น 2 ชั้น บางครั้งก็มีอันเดียว?

@

          ในความเป็นจริงแล้ว ทุกครั้งที่เกิดรุ้งจะมีรุ้งอยู่ 2 ชั้นเสมอ แต่เนื่องด้วยปัจจัยอื่นๆ เช่น ระยะทาง ปริมาณฝน และการเกิด ทำให้รุ้งชั้นนอกจางเกินกว่าจะมองเห็น

เห็นจากนาย A

ที่มาภาพ: Bedford Astronomy Club

เห็นจากนาย B

เสริม

ที่มาภาพ: Quora

จากภาพนี้ก็คงพอเดาออกว่าทำไมถึงเห็นรุ้งอันใหญ่บ้าง บางส่วนบ้าง ครึ่งวงบ้าง

เสียพลังงาน

เสียพลังงาน

ทำไมถึงเห็นว่ารุ้งอันที่สองจาง

       1. เนื่องจากเป็นรุ้งที่เกิดจาการหักเหถึง 2 ครั้งทำให้แสงเสียพลังงานไปส่วนหนึ่ง

       2. เนื่องจากมุมที่รุ้งนี้จะเกิดคือ 51 องศา ทำให้มันมีระยะทางในการเคลื่อนที่สู่ตาเราที่มาก ทำให้ต้องเสียพลังงานไปกับส่วนนั้นด้วยเช่นกัน

รุ้งกลับหัว

ที่มาภาพ: Cleet Carlton

มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

@

          รุ้งประเภทนี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากการหักเหด้วยน้ำฝน ดังนั้นจึงจะไม่ค่อยพบในช่วงที่ฝนตกแล้ว... แต่จะพบในวันที่มีเมฆชั้นสูงๆ มีอยู่มาก เพราะมันเกิดจากการหักเหด้วยน้ำแข็งในอากาศ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

        https://www.gotoknow.org/posts/192256

        https://pantip.com/topic/32327571

Written By: Damrongrat Siriwanna

อยากรู้ทุกประเภทของรุ้งอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

bottom of page