top of page
Recent Posts

สัตว์มีอารมณ์ขันหรือไม่


Reference: Andrea Izzotti/Shutterstock

ในชีวิตประจำวัน มีเหตุผลมากมายที่ทำให้ผู้คนสามารถหัวเราะได้ ทั้งมุกตลก เรื่องขบขันต่าง ๆ นานา แต่มีแค่มนุษย์เท่านั้นหรือที่สามารถมีอารมณ์ขันได้

คำตอบง่าย ๆ ก็คือไม่ เอาจริง ๆ แล้ว มันก็ขึ้นอยู่กับเราว่าจะนิยามคำว่า “อารมณ์ขัน” กันว่าอย่างไร

เป็นเวลาหลายล้านปีแล้วที่นักปรัชญาและนักจิตวิทยาทั้งหลาย ติดอยู่กับคำถามที่ว่าอะไรถือเป็นเรื่องตลกบ้าง มีหลายทฤษฎีถูกเสนอขึ้นมาในช่วงวลาหลายปีนี้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ทฤษฎีความไม่เข้ากัน (incongruity theory) เบื้องต้นแล้วทฤษฎีนี้บอกว่าอารมณ์ขันเกิดขึ้นเมื่อมีความไม่เข้ากันระหว่างสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและสิ่งที่เกิดขึ้นจริง พวกเรื่องตลก เช่น มุก การประชดกันเอาฮาเล่น ๆ ต่างล้วนมีแนวคิดพื้นฐานเหล่านี้แทรกอยู่

ถ้าเราใช้นิยามนี้ในการอธิบาย สัตว์ส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้มีอารณ์ขัน เพราะขาดความรู้ความเข้าใจที่ทำให้มันสามารถบอกความไม่เข้ากันของเรื่องที่เกิดขึ้นหรือได้ยินได้

ก็มีสัตว์บางตัวเรายกเว้นไว้ว่ามันสามารถเข้าใจอารมณ์ขันได้ กอริล่าที่ราบลุ่มฝั่งตะวันตกที่มีชื่อว่า Koko มันสามารถเข้าใจภาษามือได้มากกว่า 1000 ภาษา และ คำภาษาอังกฤษอีก 2000 คำ มันเป็นที่รู้จักไม่เพียงแค่สามารถเข้าถึงอารมณ์ขันจากการเล่นคำ ๆ เดียวซึ่งมีหลากหลายความหมายได้ แต่ก็ยังเข้าใจมุกตลกได้ด้วย มีครั้งหนึ่ง ผู้ฝึกสอนส่งภาษามือคำว่า “ไล่จับ” ให้ Koko หลังจากที่เชือกรองเท้าของเธอพึ่งถูกผูกเข้าด้วยกัน จากนั้น Koko จึงหัวเราะให้กับความซุ่มซ่ามของตัวผู้ฝึกสอน

แต่ทฤษฎีความไม่เข้ากันกันและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่างพบปัญหาหลายอย่าง รวมถึงความจริงที่ว่าพวกเขาไม่สามารถอธิบายได้ว่าเรื่องที่ตลกจากสิ่งที่คาดได้ว่าจะเกิดเป็นเรื่องตลกอย่างไร และเรื่องที่มันไม่เข้ากันจริง ๆ บางอย่างก็ไม่ตลก และพวกเขาก็ยังติดอยู่กับคำถามอีกข้อหนึ่งที่ว่า ทำไมเราถึงขำได้เมื่อถูกจักจี้

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักจิตวิทยาได้เสนอทฤษฎีที่แตกต่างออกไปอีกข้อหนึ่ง เป็นแนวคิดเกี่ยวกับ ทฤษฎีการละเมิดอย่างสุภาพ (benign violation) มีการตีพิมพ์การกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า "บางสิ่งบางอย่างที่คุกคามความเป็นอยู่ของบุคคล ความเป็นตัวตน หรือโครงสร้างความเชื่อเชิงบรรทัดฐานได้ แต่ในเวลาเดียวกันก็เป็นที่ยอมรับ”

ทฤษฎีการละเมิดอย่างสุภาพ (benign violation) สามารถนำมาอธิบายเหตุผลว่าทำไมหลาย ๆ สิ่งถึงทำให้เราหัวเราะได้ รวมถึงการถูกจักจี้ด้วย ซึ่งการจักจี้นั้นคือการทำร้ายร่างกายของใครบางคนอย่างสุภาพ คุณไม่สามารถจักจี้ตัวเองได้เพราะไม่ได้ถือเป็นการละเมิด และคนแปลกหน้าก็ไม่สามารถจักจี้คุณให้ถึงจุด ๆ ที่คุณหัวเราะจนท้องขดท้องแข็งได้เพราะนั้นจะไม่ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่สุภาพ

ภายใต้ทฤษฎีนี้ สัตว์ต่าง ๆ จึงสามารถมีอารมณ์ขันได้ เพราะเหตุผลที่ว่ามันสามารถถูกจักจี้ได้

งานวิจัย ในปีคริสตศักราช 2009 แสดงให้เห็นว่าไพรเมตพวกชิมแปนซี โบโนโบ กอริล่า และ อุรังอุตัง ต่างสามารถหัวเราะได้เมื่อถูกจักจี้ จากที่กล่าวมาสามารถสันนิษฐานได้ว่าอารมณ์ขันและความสามารถที่จะหัวเราะพบได้ส่วนใหญ่ในมนุษย์และสัตว์ตระกูลเอป

ในสัตว์ชนิดอื่น เช่น สุนัข ก็เป็นที่รู้กันว่าเหมือนจะสามารถหัวเราะได้แต่มีลักษณะคล้ายการหอบ และการแสดงสีหน้าซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นการแสดงอารมณ์ขันอย่างหนึ่ง

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ สัตว์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในการวิจัยความสามารถที่จะโดนจักจี้และหัวเราะเป็นหนู เมื่อมีคนมาจักจี้หรือถูกจักจี้จากเล่นกันไปมา(กับหนูที่มีขนาดใกล้เคียงกัน) สัตว์จำพวกหนูจะเปล่งเสียงคลื่นความถี่สูง 50 kHz พวกมันจะสนุกกับการถูกจักจี้มากซะจนไล่ตามนิ้วมือของนักวิจัย

อ้างอิง : https://www.livescience.com/60864-do-animals-have-humor.html


bottom of page